บทความ

Level 13 ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม

            ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม เราเรียกว่า Bugs   โดยทั่วไปความผิดพลาดสามรถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. Syntax Error             -  เป็นความผิดพลาดที่สามารถตรวจพบในขณะ compile             -   เป็นความผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษา จากการเขียนคำสั่งไม่สมบูรณ์ มีการตกหล่น หรือผิดพลาด ซึ่ง compiler ตรวจพบและจะแสดงข่าวสารว่าผิดพลาดเกิดที่บรรทัดไหน ผิดเกี่ยวกับอะไร 2. Run-Time-Error             -   เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นขณะในปฏิบัติการ (Run)  เช่น การหารค่าด้วย 0  โดยโปรแกรมจะหยุดการประมวลผลทันที 3. Logic Error             -   เป็นความผิดพลาดของผลลัพธ์ ซึ่งมีผลมาจากอัลกอริทึมในการแก้ปัญหาโปรแกรม เช่น เขียนพิจน์ทางคณิตศาสตร์ไม่ถูกต้อง  มีการใช้เงื่อนไขในการทำงานผิดพลาด มีการวน Loop ไม่มีจุดสิ้นสุดเป็นต้น               ...

Level 12 นิพจน์คณิตศาสตร์( Arithmetic Expression )

นิพจน์คณิตศาสตร์ ( Arithmetic Expression )             -  การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่  จะต้องเขียนนิพจน์คณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการแก้ ปัญหาโดยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง             - ภาษาโปรแกรมต่างๆ มีตัวกระทำทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกันไป ตัวกระทำทางคณิสาสตร์ของภาษา C++ 1.  +  ( addition )     ตัวอย่าง :   5+2=7   ,    5.0+2.0=7.0    ,    5+2.0=7.0    ,   5.0+2=7.0 2.  –  ( subtraction )    ตัวอย่าง :     5-3=2    ,    5.0-3.0=2.0     ,    5-3.0=2.0    ,    5.0-3=2.0 3.  *   ( multiplication )    ตัวอย่าง :     5*2=10  ,    5.0*2.0=10.0  ,    5*2.0=10.0  ,    5.0*2=10.0 4.  /   ( divis...

Level 11 รูปแบบทั่วไปของโปรแกรม C++

รูปแบบทั่วไปของโปรแกรม C++ เป็นดังนี้ compiler directive using namespace std; int main( ) {          declaration  statements          executable  statements }             การเขียนโปรแกรมภาษา C++  เราสามารถเขียนคำสั่งได้หลายลักษณะ  compile สามารถตรวจสอบไวยากรณ์ภาษาได้โดยแยกแต่ละคำสั่งด้วยเครื่องหมาย ;   เราจึงสามารถเขียน 2 คำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้ ตัวอย่าง :                 cout<<"Enter dollar  amount =  " ;   cin>>dollar ;                             Previous<<      |   >>Next                                      สารบัญ...

Level 10 คำสั่งปฏิบัติการ( Executable Statement )ในภาษาC++

คำสั่งกำหนดค่า ( Assignment Statemant )               ภาษา C++ ใช้สัญลักษณ์ = เป็นการให้ค่าแก่ตัวแปร ตัวอย่าง :    int sum;                    int a =30;                    int b=20;                    sum=a+b; ก่อนทำงาน :  ค่า a= 30   ,  b= 20  ,  sum= ? หลังทำงาน :  ค่า a= 30   ,  b= 20  ,  sum= 50 การรับและแสดงผล ( Input/output Operations )             ภาษา C++ ได้เตรียมไว้ให้ใน class ชื่อ iostream โดยกำหนดให้ ออปเจ๊ก   cin       และ   >>    เป็นตัวกระทำที่ใช้ในการรับข้อมูลทางคีย์บอร์ด     ส่วน ออปเจ๊ก   cout     และ   <<    เป็นตัวกระทำที่ใช้ในการแสดงข้อมูลทางภาพ โดยจะต้องแทรก com...

Level 9 การประกาศตัวแปรและการกำหนดค่าคงที่

การประกาศตัวแปร ( Declarations ) รูปแบบ     :    data type  identifier; ตัวอย่าง   :   int  x,y;                     float  a,b;                     char ch;                     float  c=3.50;                 // เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร c                    string  flower=”rose”;     // เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร flower ความหมาย  :   เป็นการจัดสรร memory ให้สามารถเก็บข้อมูลได้   โดยค่าของตัวแปรจะเปลี่ยนแปลงได้ การกำหนดชื่อตัวแปร หากมีหลายตัวแยกด้วยเครื่องหมาย ; การกำหนดค่าคงที่ ( Constant Declarations ) รูปแบบ     :     const data type  const-identifier=value; ตัวอย่าง   : ...

Level 8 ชนิดของข้อมูล( Data types )

            ชนิดของข้อมูล( data types ) ถูกแทนด้วยเซต ( set )   หรือกลุ่มของค่าที่สามารถปฏิบัติการได้  ในภาษา C++ ได้กำหนดข้อมูลไว้ใน standard library ไว้ 4 กลุ่ม ได้แก่             1. Integer :  เลขจำนวนเต็มที่ไม่มีเศษ เช่น -5,0,555  โดย data types ที่ใช้แทน คือ  short  ,   int ,  long ***  จะใช้   short,  int    และ   long    ซึ่งมีชอบเขตของข้อมูลที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับค่าของข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม            2. Real number : เลขทศนิยม เช่น -1.50,0.09999,9.00 โดย data types ที่ใช้แทน คือ  float  , double , long double     การแทนค่าของจำนวนจริงในภาษา C++ นั้น แทนด้วย scientific notation ได้ดังนี้ ตัวอย่าง :   1200.00       จะได้    1.20e3    หรือ    1.20e+3    มีค่าเท่ากับ   1.20 x 1...

Level 7 คำเฉพาะ ( Reserved Words)และชื่อ( Identifiers )

             คำต่างๆ  ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมแบ่งออกเป็น   2   ชนิดคือคำเฉพาะ และคำที่โปรแกรมเมอร์กำหนดขึ้นมาใหม่เพื่อใช้งาน ในคำสั่งหนึ่งๆจะประกอบด้วยคำทั้งสองนี้ปะปนกันไป มารู้จักคำทั้งสองนี้กันดีกว่า คำเฉพาะ ( Reserved Words)              เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า keyword  เป็นคำสงวนไว้ไม่ให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ  เนื่องจากมีความหมายใช้งานเฉพาะในภาษา  C++  มีคำไรบ้างมากันดู and                    and_eq                     asm                      auto                       bitand          bitor                     bool                ...