Level 2 ผังงาน ( Flowchart )


Flowchart

            Flowchart คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงานอย่างละเอียด โดยใช้สัญลักษณ์
ในการเขียนผังงาน   เป็นการวางแผนการเขียนโปรแกรม  การเขียนผังงานโปรแกรมก่อน  แล้วเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ได้ จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลง ทำให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายและถูกต้องกว่าการเขียนโปรแกรมโดยไม่มีผังงาน

สัญลักษณ์ที่ใช้ในผังงาน ( Flowchart )


สัญลักษณ์ที่ใช้ในFlowchart

หลักการใช้สัญลักษณ์ มีดังนี้ 
            1. ผังงาน ( Flowchart ) ที่เขียนขึ้นต้องมีจุดเริ่มต้น( START ) และจุดสิ้นสุด ( END ) 
            2. สัญลักษณ์แต่ละรูปจะมีการเชื่อมต่อด้วย ทิศทางการทำงาน ( Direction of Flow ) 
            3. ทิศทางการทำงานจะต้องเริ่มต้นจากจุดเริ่มต้น( START )และจบที่จุดสิ้นสุดเท่านั้น( END )

            โครงสร้างควบคุมพื้นฐานของผังงาน ( Flowchart ) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรมว่าไปในทิศทางใดนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 
             2.1 แบบตามลำดับ ( Sequence ) 
                   เป็นโครงสร้างควบคุมการทำงานทีละคำสั่งจากบนลงล่างหรือก่อนหลัง ตามทิศทางการทำงาน
sequence flowchart

             2.2 แบบเลือกทำ ( Selection )
       เป็นโครงสร้างการทำงานที่มีการตัดสินใจโดยมีเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดแบ่งออกเป็น รูปแบบ ด้วยกัน คือ
             2.2.1  IF - Then
      เป็นคำสั่งในการเลือกทำตามคำสั่ง  เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงเท่านั้น
 If   ( เงื่อนไข ) Then
        คำสั่งที่ 1   จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง


if then

             2.2.2  IF - Then - Else
      เป็นคำสั่งในการเลือกทำคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งเท่านั้น  โดยตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริง
หรือเท็จ
If  (  เงื่อนไข ) Then
       คำสั่งที่ 1  ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
else
       คำสั่งที่ 2  ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ


if then else

 2.2.3  Case
     เป็นคำสั่งในการเลือกทำคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งเท่านั้น  โดยตรวจสอบค่าข้อมูลที่นำมาเปรียบเทียบตรงกับเงื่อนไขใด ถ้าเป็นจริงก็จะเข้ากรณีนั้น
Case (ข้อมูล)
    กรณี่ที่ 1 : คำสั่งที่ 1
    กรณีที่ 2 : คำสั่งที่ 2
    กรณีที่ n : คำสั่งที่ n


case


2.3  การทำงานวนรอบ ( Repetition )
       เป็นโครงสร้างที่มีจะมีการทำงานแบบทำซ้ำคำสั่ง  หากวเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นไปตามที่กำหนด แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบด้วยกัน คือ
             2.3.1 For Loop
     เป็นคำสั่งในการวนรอบตามจำนวนรอบที่กำหนดให้ โดยจะมีตัวแปรหนึ่งตัวเก็บค่าว่าขณะนี้เป็นรอบที่เท่าไร และเมื่อวนจนเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จก็จะจบการวนซ้ำ
             For   ตั้งค่าเริ่มต้นให้ตัวนับ ; เงื่อนไข ; เปลี่ยนแปลงค่าตัวนับ
                      คำสั่งที่ 1  ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง

for loop


             2.3.2 While Loop
                 เป็นคำสั่งในการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นจริง จะทำตามคำสั่งใน Loop Body จนครบ จากนั้นก็กลับไปตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงอีก ก็ทำซ้ำใน Loop Body อีกครั้ง จนกว่าเงื่อนไขที่ตรวจสอบนั้นจะเป็นเท็จ
 While ( เงื่อนไข )
           คำสั่งที่ 1 ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง 


while loop


             2.3.3 Do While Loop
     เป็นคำสั่งให้ทำตามคำสั่งใน Loop Body ก่อน 1 ครั้ง แล้วตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นจริง จะกลับไปทำคำสั่งใน Loop Body อีกครั้ง แล้วตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง จนกว่าเงื่อนไขที่ตรวจสอบนั้นจะเป็นเท็จ
              Do
                   คำสั่งที่ 1 จะทำงานก่อน 1 ครั้ง และจะทำงานอีกครั้งเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
              While ( เงื่อนไข) 
do while loop

              2.3.4  Until Loop
                  เป็นคำสั่งในการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ จะทำคำสั่งใน Loop Body จนครบ จากนั้นก็กลับไปตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จอีก ก็ทำซ้ำคำสั่งใน Loop Body อีกครั้ง จนกว่าเงื่อนไขที่ตรวจสอบนั้นจะเป็นจริง
  Until ( เงื่อนไข )
      คำสั่งที่ 1 จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ


until loop

  2.3.5 Do Until Loop
      เป็นคำสั่งให้ทำคำสั่งใน Loop Body ก่อน 1 ครั้ง แล้วตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ จะกลับไปทำคำสั่ง ใน Loop Body จนครบแล้วตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง จนกว่าเงื่อนไขที่ตรวจสอบนั้นจะเป็นจริง
  Do
         คำสั่งที่ 1 จะทำงานก่อน 1 ครั้ง และจะทำงานอีกครั้งเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
  Until ( เงื่อนไข )


do until loop 

ตัวอย่าง :
flowchart

ตัวอย่าง :
flowchart

ตัวอย่าง :
flowchart

ตัวอย่าง :
flowchart






                    Previous<<   |  >>Next                                  สารบัญ...




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Level 4 การวิธีใช้ Dev-C++ สร้างโปรแกรม

Level 13 ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม